ชมจันทร์-ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเหมือนคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ดาวศุกร์ อยู่เคียงกับ ดาวพฤหัสบดี มองใกล้กันเพียง 2 องศา ในระยะบนท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ข้างล่างดาวทั้งสองดวง ที่ห่างดาว เพียง 2 องศา ซึ่งสามารถสังเกตได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสฯ และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่าง ดาวอีก2ดวง และ อยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

เคยเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนมาแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์, 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551, 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 19.24 น. จากนั้น จะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สว่างของ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และช่วงค่ำวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จัดทำโดย: ชมจันทร์ กลอนรัก กลอนโดนใจ

Categories: ชมจันทร์ | ป้ายกำกับ: | ใส่ความเห็น

ดอกชมจันทร์

ดอกชมจันทร์ หรือดอกพระจันทร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L.อยู่ในวงศ์ Convolvulaceae สกุล Ipomoea มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย พืชในสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด

ที่มา: วิกิพีเดีย
โดย: ชมจันทร์ กลอนรัก กลอนโดนใจ

Categories: ชมจันทร์ | ป้ายกำกับ: | ใส่ความเห็น

ชมจันทร์ดอทคอม

ชมจันทร์? ใครเคยนั่งชมจันทร์กับคนรักบ้างไหม
บรรยากาศการนั่งคุยกับคนรักท่ามกลางแสงจันทร์…
มีความสุขอย่าบอกใคร…
หรือใครบ้างที่เคยนั่งเศร้ามองพระจันทร์เพียงคนเดียว…
เหงาหัวใจเกินบรรยาย…
เรามาร่วมกันถ่ายทอดความรู้สึกเหล่านี้ให้เพื่อนๆรับร่วมรับรู้กันดีไหม…

เรามาร่วมชมจันทร์ด้วยกัน…ที่ www.chomjun.com

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

บลอกที่ WordPress.com .